วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฟ้อง ศาลปกครอง ล้มประมูล 3จี


ปี 2546 รัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เริ่มจัดทำสองโครงการด้านที่อยู่อาศัย คือโครงการบ้านมั่นคงและโครงการบ้านเอื้ออาทร ยังคงดำเนินการต่อเนื่องถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 10 โครงการบ้านมั่นคงพยายามแก้จุดอ่อนการแก้ปัญหาสลัมและที่อยู่อาศัยของคนจนเมืองในอดีต โดยปรับกระบวนทัศน์และรูปแบบการทำงานใหม่ ประการแรกเปลี่ยนจากลักษณะที่หน่วยงานรัฐดำเนินการมาเป็นชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของปัญหาดำเนินการ พอช.จะไม่หาที่ดิน ไม่ก่อสร้าง ไม่ขายบ้าน แต่โอนเงินสนับสนุนไปให้องค์กรชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์เคหะสถานดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจข้อมูลชุมชน ครัวเรือน กำหนดทางเลือกการปรับปรุงชุมชน ออกแบบบ้าน ออกแบบชุมชน ไปจนถึงการก่อสร้างบ้าน ด้วยความเชื่อว่าที่ว่าหน่วยของรัฐ ibc มีกำลังคนจำกัดไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันการขยายตัวของสลัม ตราบใดที่ไม่ยอมให้ชุมชนเจ้าของปัญหามาแก้ปัญหาของตนเอง ชาวบ้านคนจนเมืองยืนยันว่าเขาเป็นคนจน แต่ไม่ใช่คนพิการ เป็นคนไม่มีบ้านแต่ไม่ได้ไม่มีความหวัง โครงการบ้านมั่นคงยืนยันในหลักการพัฒนาที่ชุมชนเป็นแกนกลางอย่างแท้จริงโครงการบ้านมั่นคงรับผิดชอบโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พอช. เริ่มดำเนินการ 10 โครงการแค่ประมาณ 1500 ครัวเรือน ปัจจุบันดำเนินการใน 286 เมือง มีชุมชนแออัดที่เข้าร่วม 1637 ชุมชน ดำเนินโครงการมา 774 โครงการ 91805 ครัวเรือนได้รับประโยชน์ และกำลังขยายรูปแบบการไปยังเมืองต่างๆทั่วเอเชียประการที่สองเปลี่ยนจากที่ชาวบ้านกู้เงินธนาคารมาซื้อบ้านมาเป็นการให้เงินอุดหนุนสาธารณูปโภคและให้เงินสินเชื่อกับชาวบ้านโดยตรง

ชาวบ้านเป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้งบประมาณก่อสร้างสาธาณูปโภคกับอะไร อย่างไร ในส่วนของสินเชื่อนั้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี ผ่อนส่งในระยะเวลา 15 ปีและกู้ได้ทั้งเรื่องบ้านและที่ดินไม่เกิน 300000 บาทต่อราย พอช.จะให้กู้ในนามกลุ่มไม่ให้กู้รายบุคคล ก่อนการกู้เงิน ชาวบ้านทุกคนต้องออมทรัพย์จนได้เงินอย่างน้อย 10% ของเงินที่จะกู้ โครงการส่วนใหญ่มีการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เคหะสถานที่จะเป็นองค์กรชุมชนทำหน้าที่บริหารจัดการชุมชนไปอย่างน้อย 15 ปี ตามระยะเวลากู้เงินประการที่สาม เปลี่ยนจากการทำโครงการนำร่อง เป็นการทำทั้งเมือง มีการสำรวจสลัมทั้งเมือง แล้ววางแผนว่าจะแก้ปัญหาที่ชุมชนไหนก่อน แล้วลงมือดำเนินการ โดยมีเป้าหมายสุดท้าย ibcbet ว่าจะแก้ปัญหาสลัมทุกแห่งในเมืองนั้น เพื่อไปสู่เมืองที่ปลอดสลัมในที่สุดสี่ห้าปีที่ผ่านมานั้น มีผู้นำชุมชน ข้าราชการและนักวิชาการต่างประเทศสองสามร้อยคนมาดูงานโครงการนี้ในประเทศไทย หนึ่งทศวรรษของประสบการณ์บ้านมั่นคงในประเทศไทย บอกเราหลายอย่างเหลือเกิน เช่นว่าและสุดท้าย เป็นการพิสูจน์ว่าการพัฒนาที่ชุมชนเป็นแกนกลางนั้น เป็นไปได้แน่นอน เพราะคนสลัมทั่วประเทศพิสูจน์เรื่องนี้มาเป็นปีที่สิบแล้วและคนสลัมในเอเชียจำนวนมากกำลังทำเช่นนี้ด้วย  นอกจากนั้น โครงการยังมีแนวทางการทำงานร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งเทศบาล องค์กรพัฒนาเอกชน มหาวิทยาลัย ฯลฯ การทำงานพัฒนาแบบองค์รวม ไม่ใช่ทำเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัย แต่ยังส่งเสริมเรื่องพลังงานทางเลือก สวัสดิการชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอื่นๆปัญหาสลัมเป็นปัญหาสำคัญของโลก
Credit : Cilck here

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น